ผ่อนปรนระยะ 3 เริ่มแล้ว (1มิ.ย.)

ผ่อนปรนระยะ 3 เริ่มแล้ว (1มิ.ย.)

ผ่อนปรนระยะ 3 เริ่มแล้ว (1มิ.ย.)

ผ่อนปรนระยะ 3 เริ่มแล้ว(1มิ.ย.) วันที่ 29 พฤษภาคม 2563 การแถลงข่าวจากศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) เผยมาตรการผ่อนคลายระยะ 3 แก่กิจกรรมและกิจการต่าง ๆ

ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 ประกาศมาตรการผ่อนปรนระยะที่ 3 เริ่มวันที่ 1 มิ.ย.นี้ โดยให้กิจการและกิจกรรมที่มีความเสี่ยงปานกลางถึงสูงกลับมาเปิดให้บริการได้ ขยายเวลาเปิดห้างสรรพสินค้าถึง 21.00 น. ปรับลดเวลาเคอร์ฟิวเหลือ 5 ชั่วโมง ตั้งแต่ 23.00-03.00 น. และอนุญาตให้ประชาชนเดินทางข้ามจังหวัดได้หากมีความจำเป็น

มีมติให้ผ่อนปรนมาตรการควบคุมในระยะที่ 3 ของ ศบค. มีขึ้นขณะที่จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในประเทศไทยในรอบ 24 ชั่วโมงอยู่ที่ 11 ราย ทั้งหมดเป็นคนไทยที่เดินทางกลับจากประเทศคูเวต และได้รับการยืนยันการตรวจพบเชื้อขณะที่อยู่ในสถานกักกันโรคของรัฐ

ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศมาตรการผ่อนปรนระยะ 3

ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศมาตรการผ่อนปรนระยะ 3

ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศมาตรการผ่อนปรนระยะ 3 เริ่มบังคับใช้ 1 มิ.ย.นี้ ขยับเวลาเคอร์ฟิวเป็น 5 ทุ่ม ถึง ตี 3, ขยายเวลาปิดห้างเป็น 3 ทุ่ม, อนุญาตเปิดโรงหนัง ฟิตเนส

ค่ำวานนี้ (29 พ.ค.) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ ประกาศข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 9) โดยระบุว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ให้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2563 จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563 นั้น

แม้ด้วยความร่วมมือจากภาครัฐและประชาชนทุกฝ่าย สถานการณ์ในช่วงเวลาที่ผ่านมาจะดีขึ้น แต่ฝ่ายสาธารณสุข ฝ่ายปกครอง และฝ่ายความมั่นคงเห็นว่าในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อ ซึ่งกำลังจะผ่อนคลายการบังคับใช้บางมาตรการในช่วงที่ 3 นับจากนี้ไปให้มากขึ้นกว่าเดิมจนใกล้เคียงกับการดำเนินวิถีชีวิตตามปกติ ยังจำเป็นต้องติดตามดูแลสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ต่อไปให้สงบนิ่งอย่างต่อเนื่องจนเป็นที่วางใจได้อีกระยะหนึ่ง เพื่อว่าหากจำนวนผู้ติดเชื้อกลับเพิ่มหรือโอกาสเสี่ยงมีมากขึ้น จะได้ระงับหรือเปลี่ยนแปลงการผ่อนคลายบางส่วนหรือทั้งหมดได้ทันท่วงที

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนดเป็นการทั่วไป และข้อปฏิบัติแก่ส่วนราชการทั้งหลาย

รายละเอียดเกี่ยวกับการผ่อนปรนในระยะที่ 3 มีดังนี้

  • เคอร์ฟิว : ปรับเวลาเป็น 23.00-03.00 น.
  • ห้างสรรพสินค้า ขยายเวลาปิดให้บริการจาก 20.00 เป็น 21.00 น.
  • โรงเรียนและสถานศึกษา : ให้ใช้สถานที่ในการสอบคัดเลือกและอบรมระยะสั้นได้ แต่ยังคงปิดการเรียนการสอนไปจนถึงวันที่ 1 ก.ค. อย่างไรก็ตามกระทรวงศึกษาธิการจะไปพิจารณาให้โรงเรียนและสถาบันการศึกษาบางแห่งเปิดก่อนได้ เช่น โรงเรียนสอนด้านอาชีพและกีฬา โรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลที่ไม่มีการระบาดของโรค และมีจำนวนนักเรียนน้อย
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก : เปิดเฉพาะเพื่อทำการประกอบอาหารให้ผู้ปกครองมารับ ยังไม่มีการนำเด็กมา
  • ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุมและการจัดนิทรรศการ : เปิดดำเนินการได้เฉพาะที่มีพื้นที่ไม่เกิน 20,000 ตร.ม.และต้องปิดในเวลา 21.00 น.
  • ศูนย์พระเครื่อง สนามพระเครื่อง : เปิดดำเนินการได้แต่ต้องควบคุมจำนวนคนไม่ให้หนาแน่นเกินไป
  • ร้านเสริมสวย สถานเสริมความงา ร้านตัดผม : เปิดบริการทุกรูปแบบได้ยกเว้นกิจกรรมที่มีการสัมผัสบริเวณใบหน้า แต่ต้องใช้เวลาทำไม่เกิน 2 ชม. และห้ามนั่งรอในร้าน
  • ร้านนวดเพื่อสุขภาพ สปา นวดแผนไทย นวดเท้า : ต้องให้บริการไม่เกิน 2 ชม.ต่อราย งดการอบไอน้ำ อบตัว
  • ฟิตเนส : ให้ทำกิจกรรมได้ทั้งหมด แต่จำกัดระยะเวลาให้บริการ
  • โรงภาพยนตร์ : จำกัดผู้เข้าชมไม่เกิน 200 คน นั่งคู่กันได้ แต่ต้องจัดที่นั่งให้มีระยะห่าง
  • สถานที่ออกกำลังกาย : ให้ทำกิจกรรมได้ทุกประเภท แต่ต้องมีมาตรการป้องกันโรคกำกับ และกำหนดระยะเวลาการให้บริการ
  • สนามกีฬาเพื่อการฝึกซ้อม : เปิดให้บริการทั้งสนามฟุตบอล ฟุตซอล บาสเกตบอล มวย วอลเลย์บอล บึงน้ำเพื่อการเล่นกีฬาทางน้ำ แต่ต้องมีมาตรการรักษาระยะห่าง จำกัดจำนวนเจ้าหน้าที่ไม่เกิน 10 คนต่อครั้ง และจำกัดเวลา
  • ลานกิจกรรม : ลานโบว์ลิง สเกต โรลเลอร์เบลด สถานลีลาศ เปิดให้บริการได้แต่ต้องจำกัดผู้ใช้บริการและกำหนดเวลา
  • สวนสัตว์ สถานที่จัดแสดงสัตว์: เปิดได้ตามปกติ
  • การเดินทางข้ามจังหวัด:ทำได้แต่ขอความร่วมมือให้เดินทางเฉพาะที่จำเป็นจริง ๆ เท่านั้น และไม่ใช่การเดินทางท่องเที่ยว
กิจกรรมที่ผ่อนคลาย

ประเด็นสำคัญที่ต้องดำเนินการ

– มาตรการคัดกรองไข้ และอาการไอ หอบเหนื่อย จาม หรือเป็นหวัด สำหรับพนักงานบริการและผู้ใช้บริการ และรายงานหน่วยงานรับผิดชอบกรณีพบผู้ที่เข้าเกณฑ์สอบสวนตามแนวทางที่กำหนด

– ให้พิจารณาพัฒนานวัตกรรม เช่น ลงทะเบียนเข้า-ออกสถานที่ ระบบการเรียนการสอน การจองคิวแบบออนไลน์ เพื่อให้บริการรูปแบบใหม่ในระยะยาว นำไปสู่การป้องกันควบคุมโรคโควิด-19 ที่มีประสิทธิภาพ

– ทุกกิจการและกิจกรรม จัดให้มีการลงทะเบียนก่อนเข้า-ออกสถานที่ และเพิ่มมาตรการที่ใช้แพลตฟอร์ม “ไทยชนะ” หรือใช้มาตรการควบคุมด้วยการบันทึกข้อมูลและรายงานทดแทน

ทั้งนี้ จะมีผลเปิดให้บริการได้ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.นี้ พร้อมขอความร่วมมือ ให้ทุกคนลงทะเบียนเวลาเข้าใช้บริการสถานที่ต่าง ๆ ทางแอปพลิเคชัน “ไทยชนะ” หรือ จดบันทึกตามที่สถานประกอบกิจการต่าง ๆ หากผู้ประกอบการใดไม่ปฏิบัติตามมาตรการสามารถแจ้งผ่านช่องทางทางแอปไทยชนะได้ หลังจากนี้ กทม.จะจัดเจ้าหน้าที่สุ่มตรวจควบคู่กันไปด้วย

เกาะติดข่าวดังที่ไม่ควรพลาด : แห่เก็งกำไรทอง สูงสุดรอบ8ปี

ซีรีย์แนะนำ : Prison Break แผนลับแหกคุกนรก