ลุงพล-ป้าแต๋น เข้าพบ ทนายษิทรา เตรียมฟ้องคนไลฟ์สดหมิ่นประมาท

ลุงพล-ป้าแต๋น เข้าพบ ทนายษิทรา เตรียมฟ้องคนไลฟ์สดหมิ่นประมาท

ลุงพล-ป้าแต๋น เข้าพบ ทนายษิทรา เตรียมฟ้องคนไลฟ์สดหมิ่นประมาท วันนี้ ( 12 ก.ย. 63 )เมื่อเวลาประมาณ 10.15 น. สำนักงานกฎหมายษิทรา เบี้ยบังเกิด นายไชย์พล วิภา หรือ ลุงพล กับ นางสมพร วิภา หรือ ป้าแต๋น สองสามีภรรยาคดีดังน้องชมพู่ ได้เดินทางมาพร้อมกับทีมงานของหมอปลา เพื่อพบกับนายษิทรา เบี้ยบังเกิด เลขาธิการมูลนิธิทีมงานทนายประชาชนฯ เพื่อขอคำปรึกษาและหารือทางข้อกฎหมาย

ลุงพล-ป้าแต๋น เข้าพบ ทนายษิทรา เตรียมฟ้องคนไลฟ์สดหมิ่นประมาท

หลังจากถูกนายอัจฉริยะ เรืองรัตนพงศ์ ประธานชมรมช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม ไลฟ์สดกล่าวหาเชิงประจานว่าลุงพลเป็นหนี้ ธกส. และมีการหมิ่นเหยียดหยามโดยกล่าวให้คนเข้าใจผิดลุงพลว่าเป็นฆาตกร  ซึ่งไม่เกี่ยวอะไรกับคดี

นายไชย์พล วิภา หรือ ลุงพล บอกว่า ที่มาหาทนายษิทราก็เพราะว่ามีบุคคลคนหนึ่งได้กล่าวให้ร้ายเหมือนมาพูดประจานลุงพลกับป้าแต๋น ด้วยการไลฟ์สดเมื่อวันที่ 10 ก.ย.ที่ผ่านมา ทำให้ตนและป้าแต๋นเกิดความเสื่อมเสีย จึงตัดสินใจกันเดินทางกันมาขอคำปรึกษาจากทนายษิทรา และมอบมายให้ทนายษิทราเป็นทนายในคดีนี้

ลุงพล-ป้าแต๋น เข้าพบ ทนายษิทรา เตรียมฟ้องคนไลฟ์สดหมิ่นประมาท

ด้าน นายษิทรา เบี้ยบังเกิด เลขาธิการมูลนิธิทีมงานทนายประชาชนฯ กล่าวว่า จากการที่ได้ดูหลักฐานที่ปรากฏอยู่ในโลกโซเชียล ตนก็ได้เก็บข้อมูลไว้เป็นที่เรียบร้อยเบื้องต้น พบว่าบุคคลที่ลุงพลต้องการจะฟ้องร้องดำเนินคดีมีการกระทำในข้อหาหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาจริง ดังนั้นจึงเห็นสมควร ต้องมีการดำเนินโดยจะเริ่มในช่วงบ่ายวันจันทร์ที่ 14 ก.ย.นี้ โดยได้นัดหมายลุงพลให้ไปพบกันที่ศาลอาญาฯ เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมายต่อไป

วิเคราะห์กระแส ลุงพล-ป้าแต๋น

เหตุการณ์ดังกล่าวสืบเนื่องจากความความดังของ ลุงพล-ป้าแต๋น ที่สืบเนื่องจากคดีการตายของน้องชมพู่นั้นเอง กระแสของ ลุงพล-ป้าแต๋น นั้นทำไมถึงบูม วันนี้เราก็จะมาดูความเห็นของนักวิชาการกัน

เป็นเวลากว่า 4 เดือนนับตั้งแต่การเสียชีวิตอย่างปริศนาของ “น้องชมพู่” เด็กหญิงวัย 3 ขวบ ซึ่งอาศัยอยู่กับพ่อและแม่ที่บ้านกกกอก ต.กกตูม อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร ตำรวจยังไม่สามารถระบุตัวผู้ต้องหาได้ แต่สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นคือ การสร้างกระแสให้บุคคลต้องสงสัยในคดีดังกล่าวกลายเป็นผู้มีชื่อเสียงขึ้นมาโดยการรายงานข่าวของสื่อมวลชน

บุคคลดังกล่าวคือนายไชย์พล วิภา หรือ “ลุงพล” ซึ่งเป็นลุงเขยของน้องชมพู่ ที่ตำรวจเคยสอบปากคำในฐานะหนึ่งในผู้ต้องสงสัยว่าเขาอาจจะมีความเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของหลานสาว

การนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนมีส่วนอย่างมากที่ทำให้ลุงพลอยู่ในความสนใจของผู้คนจำนวนไม่น้อย มีคนเดินทางมาให้กำลังใจ มอบเงินและสิ่งของให้ และล่าสุดมีนักร้องเพลงลูกทุ่งชื่อดังชวนไปขึ้นเวทีคอนเสิร์ต ไปจนถึงได้รับจ้างให้ไปเดินแบบโฆษณาสินค้า

กรณีนี้ทำให้หลายคนตั้งคำถามต่อบทบาทและหน้าที่ของสื่อมวลชนบางสำนักที่เกาะติดการนำเสนอข่าวดังกล่าวว่า ได้นำเสนอเนื้อหาที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะหรือไม่ จนทำให้เกิดกระแสต่อต้านขึ้นในสังคมออนไลน์ผ่าน #แบนลุงพล เกิดขึ้นในวันที่ 9 ก.ย. ที่ผ่านมา

ในเวลาต่อมามีการประกาศลาออกของหัวหน้าช่างภาพของสถานีโทรทัศน์ช่องหนึ่งที่ติดตามและรายงานข่าวคดีน้องชมพู่และครอบครัวมานานหลายเดือน โดยระบุเหตุผลการลาออกว่า “รับไม่ได้” ที่ถูกมอบหมายให้รายงานข่าวลุงพล

ขณะที่นักวิชาการด้านวารสารศาสตร์ตั้งคำถามถึงการทำงานของสื่อบางสำนักที่นำเสนอเรื่องราวในรูปแบบเรียลิตี้โชว์ (reality show) แฝงในช่วงรายการข่าว ว่าเป็น “การเปลี่ยนบทบาทจากผู้รายงานข่าวเป็นผู้กำกับเรื่องเสียเองหรือไม่”

“เมื่อพิจารณาจากรูปแบบการนำเสนอในช่วงข่าวของช่องทีวีที่กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์แล้ว ต้องยอมรับว่ามีการสร้างเส้นเรื่อง โดยมีการใส่อารมณ์ ปมเรื่อง (plot) เพิ่มเหตุการณ์ต่าง ๆ ในแต่ละวันในการนำเสนอ…”

“เมื่อพิจารณาจากรูปแบบการนำเสนอในช่วงข่าวของช่องทีวีที่กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์แล้ว ต้องยอมรับว่ามีการสร้างเส้นเรื่อง โดยมีการใส่อารมณ์ ปมเรื่อง (plot) เพิ่มเหตุการณ์ต่าง ๆ ในแต่ละวันในการนำเสนอ หลังจากการสืบสวนสอบสวนคดีน้องชมพู่ไม่มีความคืบหน้า” ผศ.ดร. วิไลวรรณ จงวิไลเกษม อาจารย์ประจำคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บอกกับบีบีซีไทย

นักวิชาการรายนี้ตั้งข้อสังเกตว่า สื่อมวลชนควรแยกแยะว่า ในระหว่างที่ยังไม่ได้ข้อสรุปในคดีดังกล่าว บุคคลที่เกี่ยวข้องต้องสงสัย หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในคดีควรจะถูกกันออกไปเพื่อไม่ให้มีผลต่อรูปคดีมากกว่าถูกนำมาเป็นจุดสำคัญในการรายงานข่าว

ข้อสังเกตของ ผศ.ดร. วิไลวรรณสอดคล้องกับเหตุผลของนายทรงพล เรืองสมุทร อดีตหัวหน้าช่างภาพข่าวของสถานีโทรทัศน์อมรินทร์ทีวี ที่โพสต์บนเฟซบุ๊กส่วนตัวอธิบายสิ่งที่คับข้องใจ รวมทั้งแรงกดดันจากสังคม ที่เขาต้องเผชิญมาตลอดระยะเวลาทำข่าว ก่อนตัดสินใจลาออกจากสถานีดังกล่าว

“ผมเป็นหนึ่งคนที่รับรู้เรื่องราว ที่ถูกสร้าง ปั้นแต่งและถูกนำเสนอผ่านหน้าจอมาโดยตลอด และตั้งคำถามกับตัวเองเสมอว่า พวกเราทำอะไรกันอยู่ มันไม่ใช่ปรากฏการณ์ ไม่ใช่ความแปลกใหม่…” นายทรงพลระบุ โดยข้อความที่เขาโพสต์มีคนแชร์มากกว่า 4.4 พันครั้ง

สำหรับกรณีดังกล่าว แหล่งข่าวจากสถานีโทรทัศน์อมรินทร์ทีวีระบุว่าบรรณาธิการเตรียมจะชี้แจงประเด็นที่สังคมตั้งคำถามถึงบทบาทการทำงานของสื่อในการนำเสนอข่าวนี้

คุณค่าข่าวที่หายไป

” ในช่วงแรก ที่มีการรายงานเกี่ยวกับคดีการเสียชีวิตของน้องชมพู่ ก็ถือว่ามีคุณค่าของความเป็นข่าว เพราะเป็นการเสียชีวิตอย่างมีเงื่อนงำ เป็นเรื่องที่สังคมสนใจ (human interest) ในขณะเดียวกันคดีดังกล่าวเป็นเรื่องราวแห่งความขัดแย้ง (conflict) หากมองในแง่คุณค่าของข่าว ถือว่า มีประโยชน์ของคนดู เป็นอุทาหรณ์ให้กับคนดูได้” เธออธิบาย

ดร. มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย บอกกับบีบีซีไทยว่า เหตุการณ์นี้ได้สะท้อนให้เห็นว่า มีการทำให้ความเป็นข่าวบิดเบี้ยวไป ผ่านการนำเสนอแบบกึ่งรายการวาไรตี้ จนทำให้คนธรรมดาคนหนึ่งหลายเป็นคนดังขึ้นมา

“นี่ไม่ใช่กรณีแรก อย่างกรณีคนขับแท็กซี่ฮีโร่ที่เก็บเงินได้ แต่สุดท้ายกลายเป็นข่าวลวง และกรณีเมื่อไม่นานมานี้อย่างกรณีหวย 30 ล้านบาท ที่มีการประกอบสร้างครูปรีชาขึ้นมา ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ผิดกฎหมาย แต่ก็ต้องตั้งคำถามว่า แหล่งข่าวบางคนถูกเสนอให้เป็นคนดังได้จริง ทำให้เกิดการบิดเบือนข้อมูล ตัดทอนความเป็นข่าวหรือไม่” ดร.มานะตั้งข้อสังเกต

การสมยอมกันระหว่าง “สื่อและบุคคลในข่าว”

ผศ.ดร. วิไลวรรณ มองว่า ภาพที่กำลังเกิดขึ้นตามหน้าสื่อของไทยในตอนนี้ อาจจะมองได้ว่าเป็น การสมยอมกันระหว่าง “สื่อมวลชนกับบุคคลในข่าว” เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น การสร้างเรตติ้งต่อรายการโทรทัศน์ รวมถึงการสร้างคอนเทนต์ให้กับแฟลตฟอร์มออนไลน์เพื่อเรียกยอดผู้ชมและผู้แชร์ จนกลายเป็นสูตรสำเร็จทางการตลาดที่สามารถเรียกกระแสในสังคมออนไลน์ได้อย่างมาก

“ยกตัวอย่าง หลายคลิปที่เคยออกอากาศในสถานีโทรทัศน์อมรินทร์เมื่อนำมาเผยแพร่สื่อสังคมออนไลน์ เช่น ยูทิวบ์ ก็ได้รับความนิยมจนมียอดชมมากกว่า 1 ล้านครั้งในระยะเวลาไม่กี่วัน” เธออธิบาย

ผลจากกระแสความนิยมดังกล่าวทำให้บุคคลในข่าวได้เปิดช่องยูทิวบ์ “ลุงพลป้าแต๋น แฟมิลี่” เมื่อวันที่ 14 ส.ค. ที่ผ่านมาและมียอดผู้ติดตามเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยขณะนี้มีผู้ติดตามกว่า 210,000 ราย หลังจากเผยแพร่คลิปเพียง 13 ชิ้นเท่านั้น นอกจากนี้พวกเขายังมีโอกาสไปร่วมงานการเปิดตัวสินค้าและกิจกรรมการตลาดหลายครั้ง และมีรายงานว่าได้รับการว่าจ้างเป็นพรีเซนเตอร์ให้กับสินค้าบางอย่างด้วย

น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ ประธานคณะทำงานคุ้มครองผู้บริโภคสื่อ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ บอกกับบีบีซีไทย ว่าการรายงานข่าวคดีน้องชมพู่นี้ก็ยังเป็นการละเมิดสิทธิของผู้วายชนม์ที่เป็นเด็กอีกด้วย

“ในการรายงานเรื่องนี้มีการเปิดเผยชื่อทั้งพ่อและแม่ ญาติพี่น้อง โรงเรียน ที่อยู่สารพัด ไม่ใช่เป็นแค่เด็ก แต่ยังเป็นผู้วายชนม์ด้วย ซึ่งในหลักของผู้วายชนม์ยังมีเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่จะต้องให้เกียรติ แต่ก็ไม่มีเลย แต่เรื่องนี้สื่ออาจจะอ้างว่า พ่อกับแม่ ญาติพี่น้องสมยอมในการสร้างข่าว แต่สื่อเองจะต้องมีขอบเขตแต่แรกที่จะไม่ไปให้พื้นที่ตรงนั้น” เธอให้ความเห็น

เตือนสื่อไม่ควรรายงานข่าวอาชญากรรมเหมือน “ละคร”

รศ.ดร.ศรีสมบัติ โชคประจักษ์ชัด รองศาสตราจารย์ประจำหลักสูตรดุษฎีบัณฑิตสาขาอาชญาวิทยาการบริหารงานยุติธรรมและสังคม (หลักสูตรพิเศษ) คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาสัยมหิดล เคยกล่าวในเวทีเสวนาออนไลน์ Media Forum ครั้งที่ 12 “ข่าวไม่ใช่ละคร: เส้นแบ่งข่าวอาชญากรรมเสมือนจริง” (News Not Drama: Ethics on Virtual reality) เมื่อวันที่ 24 ก.ค. ที่ผ่านมาว่า ข่าวอาชญากรรมเป็นข่าวที่ได้รับความสนใจจากสังคมอย่างมาก และมักสร้างเรตติ้งได้สูง

นักวิชาการรายนี้อธิบายถึงสาเหตุที่สื่อไม่ควรทำให้ข่าวอาญชากรรมเป็นเหมือนกับละครว่า การเข้าไปสัมภาษณ์บุคคลที่อยู่ในข่าว อาจต้องพิจารณาในเรื่องความยินยอมในการให้ข้อมูลด้วย บางคนอาจจะต้องการให้ข้อมูลเพื่อเรียกร้องให้คนเข้ามาช่วยเขา แต่อีกกรณี การไปสัมภาษณ์ผู้กระทำความผิด เขาก็อาจจะหากลไกที่จะใช้วิธีปกปิดร่องรอยสร้างหลักฐานขึ้นมาใหม่ ผู้สื่อข่าวต้องคำนึกถึงกรอบระเบียบทางกฎหมายและจรรยาบรรณสื่อด้วย

สะท้อนความล้มเหลวในกลไกการควบคุมกันเองของสื่อ

น.ส.สุภิญญา กล่าวว่าสังคมไทยมีกลไกในการควบคุมสื่ออยู่แล้ว แต่ดูเหมือนจะนิ่งสนิทกับเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมสภาวิชาชีพกิจการการแพร่ภาพและการกระจายเสียง (ประเทศไทย) หรือแม้แต่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ยังไม่มีการตอบสนองต่อเรื่องราวที่เกิดขึ้นในขณะนี้

“ในฐานะเป็นหนึ่งในกรรมการจริยธรรม ของสภาการหนังสือพิมพ์ฯ ได้ยื่นหนังสือไปยัง กสทช.ไปแล้วเมื่อปลายเดือนที่แล้ว ถึงกรณีการรายงานข่าวของช่องไทยรัฐทีวีและอมรินทร์ทีวี ถึงการเสนอข่าวอาชญากรรมในรูปแบบเร้าอารมณ์คนดูและใช้กราฟิกแอนิเมชั่น รวมไปกรณีลุงพลป้าแต๋นด้วย แต่ยังไม่เห็นความเคลื่อนไหวใด ๆ” เธอกล่าว

อัพเดทราคาค่าตัวนักเตะ 10 อันดับ ในปี 2020 ถ้าพูดถึงนักกีฬาที่รวยระดับมหาเศษรฐีได้ หลายคนคงนึกถึงนักกีฬาฟุตบอลขึ้นมาอยู่ในชนิดกีฬาระดับต้นๆ เลย ก็แหงล่ะ เพราะในตลาดนักเตะ มีการซื้อขายตัวนักเตะกัน เป็น หลายล้าน ยูโร เลยทีเดียว

อ่านบทความน่าสนใจเพิ่มเติม : กองถ่าย แบทแมนพักถ่ายไร้กำหนด เหตุ โรเบิร์ต แพททินสัน ติดเชื้อโควิด-19